คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

กิจกรรมการเชิดหุ่น

ภาพกิจกรรมศิลปะ

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552

วันที่7/01/2552

การจัดสภาพแวดล้อม
จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกิจกรรมโดยจัดพื้นที่ภายในห้องเรียน
ที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้
สร้างประสบการณ์และความพร้อมในแต่ละบุคคลหรือแต่ละกลุ่มตามความสนใจ
การจัดห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ
สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็กสนใจ
โดยเด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างอิ่มเอิบไปด้วยภาษาไตลอดเวลา
การจัดสภาพแวดล้อมในมุมของการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างมีความหมายต่อเด็ก
มุมบ้าน
เด็กจะเข้ามาในบ้านพูดคุยเล่นกัน มีการสื่อสารระหว่างกันทำกิจกรรมต่างๆ
เช่น ล้างชามในครัว ซึ่งช่วยให้เด็กพัฒนาตนเอง ได้เรียนรู้จากเพื่อน เตรียมกระดาษดินสอ
มุมหมอ
เด็กจะได้เล่นบทบาทสมมุตรเป็นหมอ เป็นคนไข้ ฝึกการใช้ภาษาในการอธิบาย
อาการป่วยไข้ ใช้ภาษาสื่อสารกับคุณหมอ พยาบาล มีการนัดหมายกับหมอ
โดยการจดการนัดหมายไว้ในสมุดคนไข้
มุมจราจร
เด็กด้เรียนรู้กฎจราจร การปฎิบัติตามสัญลักษณ์ ป้ายบอกทางต่างๆ
รู้จักทิศทาง ซ้าย-ขวา การแสดงบทบาทต่างๆ
มุมที่ดีคือมุมที่ครูจัดสภาพแวดล้อม จัดวางกระดาษดินสอ สื่อ อุปกรณ์
หนังสือ ขั้นตอนการแนะนำให้ชัดเจน เด็กจะเข้าไปเรียนรู้
โดยที่เด็กต้องการและไม่ต้องการความช่วยเหลือจากครู
เด็กสนทนาหรือหัดเขียน ในสิ่งที่ผู้ใหญ่อาจไม่เข้าใจ
บทบาทของครู
เชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้น
ซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น
การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิด
หรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ครูเลือก
และจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียน
เพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอ
เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือ
บรรยากาศการสอนแนวใหม่
เด็กจะแสดงความต้องการให้ครูเห็นว่าเขาต้องการเขียน
สิ่งที่มีความหมายสิ่งที่เขายากบอกให้ผู้อื่นเข้าใจ
การเขียนระยะแรกจึงเป็นการที่เด็กสร้างความคิด
ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของเด็กและความต้องการ
สื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบเด็กจะเขียนเส้นขยุกขยิก
คล้ายตัวหนังสือหรือเขียนสะกดบางคําได้แต่ยังไม่ถูกต้อง

วันที่19/12/2551

ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้น ด้วยการพูดกับพ่อแม่ เพื่อน ครูในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับตัวเด็ก เมื่อเด็กได้รับการแสดงออกโดยการพูด เด็กจะได้เรียนรู้จากสิ่งที่ได้ยิน ได้ฟังจากสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟังจุดสำคัญการส่งเริมและพัฒนาภาษา คือการที่ผู้ใหญ่อ่านให้เด็กฟังในขณะที่ที่ครูอ่านเด็กจะมองตามตัวหนังสือขั้นของการพัฒนาการในการอ่านขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมาย เช่น ชื่อกู๊ดแมน เรียกว่าเป็น รากเหง้าของการอ่านเขียนขั้นที่สอง ผู้เรียนจะผูกพันกับตัวอักษรขั้นที่สาม แยกแยะกับการใช้ตัวอักษร เขียนจากซ้ายไปขวาซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาการด้านการอ่านในเด็กปฐมวัยเช่น เวลาสอนเด็ก จะให้เด็กยกมือซ้าย คุณครูซึ่งหันหน้ามาทางเด็กจะต้องยกมือขวา ซึ่งจะเป็นด้านเดียวกับเด็กขั้นสุดท้าย ระบบของตัวอักษร คือเป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการอ่านการรับรู้และพัฒนาการด้านภาษาเขียนของเด็กก่อนวัยเรียนระยะแรก เป็นระยะแรกที่เด็กเริ่มแยกแยะความแตกต่างระหว่างสัญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวอักษรและที่ไม่ใช่ตัวอักษร เขาจะใช้สัญลักษณ์ที่เขาคิดขึ้นมาเองแทนอักษร 1 สัญลักษณ์แทนคำ 1 คำ เช่น คำว่า รัก สัญลักษณ์คือ หัวใจเด็กจะรู้ดีว่าการเขียนจะสัมพันธ์กับตัวอักษรมากกว่ารูปร่างของวัตถุเราสามารถมองเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระยะทีสอง การเขียนตัวอักษรที่ต่างกันสำหรับคำพูดแต่ละคำพูดเด็กจะเริ่มแสดงความแตกต่างของข้อความแต่ละข้อความ โดยการเขียนอักษรที่ต่างกัน เช่น เด็กคนหนึ่งเขียนจดหมายถึงบิดาโดยใช้อักษรที่เขียนชื่อของเธอเท่านั้น

วันที่3/12/2551

การวางแผนจะมีทั้งระยะยาว(long range plans) เพื่อวางกรอบคิดกว้างๆแผนระยะสั้น(short range plans)
โดยเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทำกิจกรรมการฟังและการพูดของเด็กเด็กมีโอกาสได้ยินเสียงแม่พูดแม้ว่ายังพูดไม่ได้ เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาพูดเพราะ
การสอนเด็กให้พูดนั้น เด็กจำเป็นต้องได้ยินได้ฟังภาษาพูดก่อนยิ่งได้ฟังมากจะเข้าใจชัดเจนขึ้นและเรียนรู้คำศัพท์มากขึ้นเด็กวัย 2-3ขวบการพูดของแม่จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการภาษาที่ดีการสนทนา การซักถามเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็นในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ในด้านการเข้าใจความหมายของภาษาจากเรื่องง่ายไปถึงเรื่องที่ยากและซับซ้อนมากขึ้นภาษามีบทบาทในการสื่อความคิดรวมไปจินตนาการ
เพื่อตอบสนองความต้องการของตนได้อย่างดีการอ่านและการเขียนการอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเป็นเป็นสิ่งจำเป็นในการให้โอกาสเด็กเรียนรู้เพื่อฒนาภาษาเขียนขณะที่อ่านควรชี้นิ้วตามตัวหนังสือประกอบไปด้วย
ทำให้เด็กเรียนรู้กฎเกณฑ์ทุกขั้นตอนที่สำคัญคือการให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจประเด็นในเรื่องอ่านว่าสิ่งที่ประกอบกันขึ้นทั้งหมดคือองค์รวมที่เป็นเนื้อหาที่เป็นระบบการคิดไวยากรณ์ของภาษาควรสนทนา
กับเด็กเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทงภาษาอย่างง่ายๆเนื้อหาที่อ่านควรสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆรอบตัวและพยายามเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของเด็กตลอดเวลาเพื่อให้เห็นประโยชน์และความเกื่ยวพันของภาษาเขียน
กับชีวิตจริงจึงกล่าวได้ว่าการหมายถึงการสื่อสารเพื่อแสดงความคิดความรู้สึกออกมาอย่างมีความหมายภาษาที่ได้จากการฝึกคิดและถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นภาษาสัญลักษณ์คือตัวอักษร
อย่างธรรมชาติจากการได้ฟังมาก ได้อ่านมากจนสามามรถถ่ายทอดเองได้และมาฝึกฝนความถูกต้องสวยงามภายหลัง ส่วนการอ่านนั้นสามารถทำได้ตลอดเวลาด้วยการอ่านจากหนังสือ จากถนน จากสิ่งรอบตัว จกป้ายโฆษณา จากถุงขนม